Frequently Asked Questions
เกี่ยวกับ CneXt
ระบบ CneXt คืออะไร?
คู่มือการใช้ ระบบ Support CneXt ระบบ Peoplecare ?
สามารถเข้าระบบ CneXt system จากหน้า Desktop ได้อย่างไร?
ระบบจะแสดงหน้าจอ ให้ผู้ใช้งานทำการใช้ชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน
- ใส่ ชื่อผู้ใช้งาน (Email Format : LLFirstname@Domain name) เช่น [email protected] (Somchai Sudjai)
- ใส่ รหัสผ่าน (เป็นรหัสผ่านสำหรับ Login เข้าใช้งาน Computer)
- กดปุ่ม Sign, หน้าจอหลักของระบบ CneXt จะปรากฏขึ้นดังรูป ด้านล่าง
- *ในกรณีที่ลืมรหัสผ่าน ให้กดที่ “here”, ระบบจะแสดงหน้าจอระบบ CG MyAccess เพื่อให้ตั้งค่ารหัสผ่านใหม่
- กดที่รายการ “Password Reset” เพื่อทำการตั้งค่ารหัสผ่านใหม่ โดยระบบจะแสดงหน้าจอด้านล่าง
- ใส่อีเมล์แอดเดรส
- เลือก Domain Name ตามบริษัที่ท่านสังกัดอยู่
- ใส่ตัวอักษรสีเขียวทั้งหมดที่เห็นปรากฏในกล่องสี่เหลี่ยม
- กดปุ่ม “Continue
Employee Self - Service (ESS) คืออะไร?
Manager Self - Service (MSS) คืออะไร?
บัญชีผู้ใช้งาน
บัญชีผู้ใช้งานเข้าระบบ CneXt ของฉันคืออะไร?
บัญชีผู้ใช้งานเข้าระบบ CneXt จะมีลักษณะเดียวกับ Email Address ในที่ทำงานของท่าน หากมีปัญหาในการ log in เข้าระบบไม่ได้ ให้ท่านติดต่อ Peoplecare ที่เบอร์: 02-101-9111 หรือ Email: [email protected] เพื่อขอรับคำแนะนำและแก้ไขปัญหา
ตั้งค่ารหัสผ่านอย่างไร?
ในกรณีที่ไม่สามารถจดจำบัญชีผู้ใช้ของตนเองได้ จะเรียกค้นข้อมูลได้อย่างไร?
ทำไมจึงไม่สามารถเข้าใช้งานระบบโดยใช้ ชื่อผู้ใช้งาน และรหัสผ่านที่ใช้อยู่ปัจจุบัน?
- ป้อนรหัสผ่านไม่ถูกต้องและจำนวนครั้งเกินขีดจำกัดที่ผู้ดูแลระบบตั้งไว้ (ซึ่งผู้ใช้อาจเปิดใช้งานการจดจำรหัสผ่านบนเว็บเบราเซอร์)
- ถึงรอบของการเปลี่ยนรหัสผ่าน
- อาจมีผู้ใช้รายอื่นเข้าใช้งานโดยใช้บัญชีผู้ใช้ของคุณ
ต้องทำอย่างไรหากจำรหัสที่ใช้เข้าระบบไม่ได้?
เข้าระบบ CG MyAccess ที่ https://myaccess.central.co.th บนมือถือ หรือบน PC ที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ สามารถตั้งค่ารหัสผ่านใหม่ โดย
- ตอบคำถามด้านความปลอดภัย
- แจ้งให้ระบบขอให้ระบบส่งรหัสผ่านใหม่ไปยังอีเมลล์ที่ลงทะเบียน
- ท่านสามารถเข้าถึงคู่มือระบบ CG MyAccess ที่ https://myaccess.central.co.th/manual/index.html
หรือติดต่อ Peoplecare ที่เบอร์: 02-101-9111 หรือ Email: [email protected] เพื่อขอรับคำแนะนำและแก้ไขปัญหา
สามารถเปลี่ยนรหัสผ่านได้อย่างไร?
- กดปุ่ม [Ctrl] [Alt] [Del] พร้อมกัน
- เลือกเปลี่ยนรหัสผ่าน
- กรอกรหัสผ่านใหม่รหัสผ่านใหม่และยืนยันรหัสผ่าน จากนั้นกด Enter
หรือเข้าใช้ CG MyAccess จาก https://myaccess.central.co.th เพื่อเปลี่ยนรหัสผ่าน โดยพนักงานสามารถเข้าถึงคู่มือการใช้งานระบบ CG MyAccess ผ่าน https://myaccess.central.co.th/manual/index.html
รหัสผ่านใหม่ จะเหมือนกับรหัสผ่านเดิมหรือไม่?
รหัสผ่านอีเมลล์ จะถูกเปลี่ยนหลังจากที่เราเปลี่ยนรหัสบัญชีผู้ใช้งานหลัก (AD Account) หรือไม่?
ไม่ผู้ใช้จะต้องเปลี่ยนรหัสผ่านอีเมลล์แยกต่างหาก ขณะนี้ทาง RIS กำลังทดสอบเพื่อใช้รหัสผ่านเดียวกันสำหรับบัญชีผู้ใช้งานหลัก (AD Account) และบัญชีอีเมลล์กับผู้ใช้กลุ่ม และยังอยู่ในขั้นตอนการขยายสำหรับผู้ใช้รายอื่น
ควรทำอย่างไรหากไม่สามารถล็อกอินเข้าใช้อีเมลล์ และบัญชีผู้ใช้งานระบบ CneXtได้
เข้าถึง CG MyAccess จาก https://myaccess.central.co.th ในกรณีที่คุณได้ลงทะเบียนระบบ CG MyAccess ไว้เพื่อทำการตั้งค่ารหัสผ่านใหม่ หรือติดต่อ Peoplecare ที่เบอร์: 02-101-9111 หรือ Email: [email protected] เพื่อขอรับคำแนะนำและแก้ไขปัญหา
ควรทำอย่างไรหากการเปลี่ยนรหัสผ่านของคุณได้รับการแจ้งเตือนว่าไม่สำเร็จ?
ระบบจะแจ้งเตือนการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สำเร็จหากรหัสผ่านใหม่เหมือนกับรหัสผ่านเดิมหรือรหัสผ่านใหม่ไม่ตรงกับนโยบาย รหัสผ่านต้อง
- มีอักขระอย่างน้อย 8 ตัว
- ประกอบด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และตัวพิมพ์เล็ก
- มีตัวเลข หรืออักขระพิเศษอย่างน้อย 1 ตัว (ยกเว้น @ หรือ #)
จะมั่นใจได้อย่างไรว่า CG Service Desk มีการตรวจสอบชื่อ และสิทธิ์ของผู้ที่แจ้งปัญหาเข้ามาจริง?
CG Service Desk อาจถามข้อมูลเบื้องต้นเพื่อตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล หรือฝ่ายบริการ CG อาจขอรับอีเมลล์อนุมัติจากหัวหน้างานของผู้ใช้รายนั้นก่อนที่จะปลดล็อกผู้ใช้หรือตั้งรหัสผ่านใหม่
ถ้าไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คฉันจะเปลี่ยนรหัสผ่านได้อย่างไร?
เปลี่ยนรหัสผ่านได้ที่ https://myaccess.central.co.th โดยใช้โทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ร่วมกันในหน่วยงานได้
CG MyAccess คืออะไร?
ต้องลงทะเบียนก่อนที่จะใช้ CG MyAccess หรือไม่?
- เลือกคำถาม และให้คำตอบ เพื่อเป็นข้อมูลทางด้านความปลอดภัยของระบบ
- ระบุที่อยู่อีเมลที่จะถูกส่งการแจ้งเตือนและรหัสผ่านในกรณีเร่งด่วนใดๆ
กรณีที่เคยใช้การส่งคำขอกรณีลืมรหัสผ่าน จากระบบ CneXt และระบบแจ้งว่าได้ทำการส่งอีเมลมาให้เรียบร้อยแล้ว แต่พนักงานไม่ได้รับอีเมลนั้น ในกรณีนี้เกิดจากอะไร?
เบื้องต้นมีเหตุผลหลายประการที่คุณอาจไม่ได้รับอีเมลล์ ตัวอย่างดังนี้:
- อีเมลล์อาจติดอยู่ในโฟลเดอร์สแปม โปรดตรวจสอบเพื่อดูว่าได้รับอีเมลล์หรือไม่
- อาจป้อนชื่อบัญชีผู้ใช้หรือที่อยู่อีเมลล์ไม่ถูกต้อง โปรดตรวจสอบการสะกดและลองอีกครั้ง
- อาจป้อนที่อยู่อีเมลล์ที่ไม่มีการบันทึกอยู่ในระบบและไม่ได้เชื่อมโยงกับบัญชีของคุณ ทั้งนี้บัญชีผู้ใช้ของระบบ CneXt จะใช้ที่อยู่อีเมลล์หลักเพียงอันเดียวเท่านั้น หากคุณมีอีเมลล์หลายบัญชี โปรดลองใช้ที่อยู่อีเมลล์อื่น
- ในบางกรณี เนื่องจากเหตุผลด้านเทคนิคหรือความปลอดภัย จึงทำให้ไม่สามารถยืนยันข้อมูลประจำตัวและการอนุญาตให้เข้าถึงระบบได้
หากท่านยังเจอปัญหานี้อยู่ กรุณาติดต่อ Peoplecare ที่เบอร์: 02-101-9111 หรือ Email: [email protected] เพื่อขอรับคำแนะนำและแก้ไขปัญหา
บัญชีเข้าระบบ CneXt ถูกล๊อค แจ้งปัญหาอย่างไร?
ต้องการรีเซ็ตบัญชีที่ถูกล็อคกรุณาติดต่อ Peoplecare ที่เบอร์: 02-101-9111 หรือ Email: [email protected] เพื่อขอรับคำแนะนำและแก้ไขปัญหา
รหัสผ่านมีอายุกี่วัน?
รหัสผ่านเพื่อเข้าระบบ CneXt มีอายุการใช้งาน 90 วัน และจะต้องทำการเปลี่ยนรหัสการเข้าใช้งานทุกๆ 90 วัน หากพนักงานใส่รหัสผ่านผิดเกิน 3 ครั้ง บัญชีจะถูกล็อคโดยอัตโนมัติ กรุณาติดต่อ Peoplecare ที่เบอร์: 02-101-9111 หรือ Email: [email protected] เพื่อขอรับคำแนะนำและแก้ไขปัญหา
เหตุใดรหัสผ่านจึงใช้ได้ 90 วันหลังจากที่มีการเปลี่ยนรหัสผ่านครั้งล่าสุด?
เพื่อป้องกันผู้ใช้จากการใช้งานที่ไม่เหมาะสม และเพื่อความปลอดภัยในการเข้าถึงระบบ
ตัวอย่างรูปถ่ายที่จะใช้เป็นรปูโปรไฟล์ ในระบบ CneXt
โมดูล Benefit (EC-BE)
การใช้งานทั่วไป
Benefits คืออะไร?
ข้อมูลสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงาน ซึ่งจะสอดคล้องและเป็นไปตามนโยบายของบริษัทที่กำหนดไว้
Benefits ในระบบ CneXt สามารถทำอะไรได้บ้าง?
เช็ค : พนักงานสามารถเช็คสิทธิและสวัสดิการของตนเองได้ทุกที่และทุกเวลา
เบิก : พนักงานสามารถเบิกสวัสดิการผ่านระบบด้วยตนเองได้ทุกที่และทุกเวลา
ตรวจ : พนักงานสามารถตรวจสอบสถานะการเบิก,การอนุมัติและรายการที่ใช้สิทธิไปแล้วได้ด้วยตนเอง
ประเภทของสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่พนักงานสามารถเช็ค,เบิกและตรวจด้วยตนเองผ่านระบบ CneXt มีอะไรบ้าง?
สำหรับพนักงานทุกระดับ – ค่ารักษาพยาบาล, ค่าทันตกรรม
สำหรับพนักงาน PG17 ขึ้นไป – ค่าน้ำมัน, ค่าที่จอดรถ, ค่าทางด่วน, ค่าโทรศัพท์มือถือ, ค่าตรวจสุขภาพประจำปี
ประเภทของสวัสดิการอะไรบ้างที่พนักงานได้รับ แต่ไม่สามารถคีย์เบิกเองได้ในระบบ CneXt?
ค่าอุปสมบท, ค่าของขวัญแต่งงาน, ค่าช่วยเหลืองานศพ, ค่าเจ้าภาพงานศพ, ค่าพวงหรีด, ค่าของขวัญคลอดบุตร, ค่าของเยี่ยมไข้ ทั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่ Shared Employee Service(“SES”) จะทำการคีย์เบิกสวัสดิการให้ในระบบ CneXt หลังจากพนักงานมีการเรียกร้องการใช้สิทธิ
สิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่พนักงานได้รับ จะได้รับสิทธิการใช้เมื่อไหร่?
ค่ารักษาพยาบาล – ใช้ได้ทันทีหลังจากวันแรกที่เริ่มงาน
ค่าทันตกรรม – ใช้ได้ทันทีหลังจากวันแรกที่เริ่มงาน
ค่าน้ำมัน – ใช้ได้ทันทีหลังจากวันแรกที่เริ่มงาน
ค่าที่จอดรถ – ใช้ได้ทันทีหลังจากวันแรกที่เริ่มงาน
ค่าทางด่วน – ใช้ได้ทันทีหลังจากวันแรกที่เริ่มงาน
ค่าโทรศัพท์มือถือ – ใช้ได้ทันทีหลังจากวันแรกที่เริ่มงาน
ค่าตรวจสุขภาพประจำปี – ตามรอบการเข้างาน
การเช็ค,เบิกและตรวจสิทธิประโยชน์และสวัสดิการ ต้องไปที่ใด?
1. คลิกที่ปุ่ม “Home”
2. เลือก “My employee file”
3. คลิกเลือกแถบ “Benefits”
จะเบิก Benefits มีขั้นตอนอย่างไร?
1. คลิกเลือกแถบ “Benefits”
2. คลิกที่ปุ่ม “Go to Benefits”
3. เลือก Benefits ที่ต้องการเบิก
4. คลิกที่ปุ่ม “Start a Claim”
5. กรอกข้อมูลตามที่กำหนด
6. กด “Submit”
หลังจากพนักงานคีย์เบิกสวัสดิการแล้ว จะทราบได้อย่างไร ว่าทำรายการสำเร็จแล้ว?
รายการที่ทำสำเร็จแล้ว จะไปปรากฏอยู่ที่ช่อง “In-process Claims” ด้านขวามือ และเมื่อรายการนั้นถูกอนุมัติเรียบร้อยแล้ว จะย้ายไปปรากฏที่ช่อง “Recently Approved Claims”
พนักงานต้องการทราบรายละเอียดสถานะของรายการที่ยังไม่ได้ถูกอนุมัติ ดูได้จากที่ใด?
ไปที่ช่อง “Search for actions and people” ด้านบนขวามือ แล้วพิมพ์คำว่า “Pending Requests” หรือ “View My Pending Requests” หรือ “My Requests” ระบบก็จะโชว์รายการทั้งหมดขึ้นมาให้
หากพนักงานต้องการแก้ไขรายการที่คีย์ไปแล้วแต่ยังไม่ถูกอนุมัติ สามารถทำได้หรือไม่?
สามารถแก้ไขได้ โดยไปที่ “Pending Requests” แล้วกดเลือกรายการในช่อง “My Requests Waiting for Approval” ที่ต้องการแก้ไข โดยสามารถทำได้ 2 วิธีคือ
1. กด “Withdraw” เพื่อลบรายการเก่าทิ้ง และไปสร้างรายการใหม่ที่หน้า”Benefits” 2. พิมพ์สิ่งที่ต้องการให้เจ้าหน้าที่ Shared Employee Service(“SES”) แก้ไขให้ในช่อง “Comment” แล้วกด “Post”
กรณีรายการถูกกดอนุมัติไปแล้ว แต่พนักงานพบว่าคีย์รายการผิด จะแก้ไขได้อย่างไร?
สามารถแจ้งให้เจ้าหน้าที่ Shared Employee Service(“SES”) กดปุ่ม reject เพื่อให้พนักงานกลับมาแก้ไขรายการที่ผิดและทำการส่งใหม่อีกครั้งได้
รอบการจ่ายเงินสวัสดิการคืนให้กับพนักงานมีวันที่เท่าไหร่บ้าง?
พนักงานคีย์เบิกในระบบ CneXt+ส่งเอกสาร:
– ก่อนวันที่ 1 ของทุกเดือน จะได้รับเงินคืนภายในวันที่ 10 ของทุกเดือน
– ก่อนวันที่ 16 ของทุกเดือน จะได้รับเงินคืนภายในวันที่ 20 ของทุกเดือน
– ก่อนวันที่ 26 ของทุกเดือน จะได้รับเงินคืนภายในวันที่ 30 ของทุกเดือน
ทั้งนี้หากรอบการจ่ายชนวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ จะขยับรอบการจ่ายออกไป +1หรือ2 วันทำการ
ประเภทรายการของ Benefits ที่มีเขียน [Info] กำกับด้านหน้าคืออะไร?
เพื่อแสดงให้พนักงานทราบว่าพนักงานมีสิทธิ์ แต่เป็นสวัสดิการที่ไม่ต้องทำการคีย์เบิกด้วยตนเองในระบบ
ช่อง In-process claim คืออะไร?
แสดงรายการสวัสดิการที่พนักงานคีย์เบิกเรียบร้อยแล้ว และอยู่ในขั้นตอนการรออนุมัติ
ช่อง Recently Approved Claims คืออะไร?
แสดงรายการสวัสดิการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว
สามารถเบิกสวัสดิการผ่าน Mobile App ได้หรือไม่?
ตอนนี้สามารถทำรายการผ่าน Internet Browser บนมือถือได้เท่านั้น
หลังจากคีย์เบิกสวัสดิการในระบบ CneXt แล้ว ต้องส่งเอกสารการเบิกอีกหรือไม่?
ต้องนำส่งเอกสารให้ทาง Shared Employee Service(“SES”) เพื่อประกอบการอนุมัติการเบิกสวัสดิการ และเก็บหลักฐานตัวจริงไว้สำหรับกรณีมีการตรวจสอบเอกสารจากทางราชการ
ไม่มีปุ่ม "Start a claim" จะต้องทำอย่างไร?
แจ้ง HRIS
การใช้งานสำหรับ Admin
ประเภทของสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่ Shared Employee Service(“SES”) จะต้องคีย์เบิกให้พนักงาน?
ค่าอุปสมบท, ค่าของขวัญแต่งงาน, ค่าช่วยเหลืองานศพ, ค่าเจ้าภาพงานศพ, ค่าพวงหรีด, ค่าของขวัญคลอดบุตร, ค่าของเยี่ยมไข้
รายการสวัสดิการที่คีย์เบิกให้พนักงานและรอการอนุมัติจาก Manager นั้น สามารถเช็คสถานะได้จากที่ใด?
สามารถเช็คสถานะได้ โดยไปที่ “Pending Requests” แล้วกดเลือกรายการในช่อง “My Requests Waiting for Approval”
รายการสวัสดิการที่พนักงานรอการอนุมัติจาก Shared Employee Service(“SES”) นั้น สามารถเช็คสถานะได้จากที่ใด?
สามารถเช็คสถานะได้ โดยไปที่ “Pending Requests” แล้วกดเลือกรายการในช่อง “Requests Waiting for My Approval”
ประเภทรายการของ Benefits ที่มีเขียน [Records] กำกับด้านหน้าคืออะไร?
เป็นสวัสดิการที่ Shared Employee Service(“SES”)ต้องคีย์ข้อมูลเพื่อเก็บประวัติการเบิกสวัสดิการให้กับพนักงาน
Enrolment Benefits คืออะไร?
คือการให้สิทธิสวัสดิการกับพนักงานรายบุคคคล
Auto enrolment คืออะไร?
คือการที่ระบบกำหนดสิทธิและสวัสดิการให้พนักงานอัตโนมัติ
ใครเป็นคน Enrolment Benefits ให้กับพนักงาน?
ทีม Data Admin
กรณีอัพโหลดข้อมูล Enrolment Benefits เข้าไปผิดต้องทำอย่างไร?
แจ้ง HRIS
โมดูล PMGM
Module PMGM คืออะไร
PMGM ย่อมาจาก Performance Management/Goal Management หรือเป็นส่วนในการบริหารจัดการผลการปฏิบัติงานและเป้าหมายในการปฏิบัติงาน
Module PMGM เกี่ยวข้องอย่างไรกับพนักงาน (End User)
เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการผลการปฏิบัติงานและเป้าหมายของพนักงานในแต่ละปี ซึ่งมีผลต่อพนักงานทุกคนในการกำหนดเป้าหมายการปฏิบัติงาน, การพูดคุยกับหัวหน้างานเพื่อติดตามความคืบหน้า, การประเมินผลการปฏิบัติงานและสมรรถนะในการทำงาน ฯลฯ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทั้งพนักงานและหัวหน้างานจะใช้ตลอดทั้งปีซึ่งส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานโดยตรง
PMGM Process มีกระบวนการในแต่ละรอบปีอย่างไรบ้าง
จะมีการแบ่ง step ตาม routemap ให้ด้านบน ซึ่งเริ่มจากต่อไปนี้
Goal setting : การตั้งเป้าหมายการปฏิบัติงาน (KPIs) ซึ่งเริ่มต้นจากการที่พนักงาน (Employee), หัวหน้างาน (Direct manager) และหัวหน้างานทางอ้อม (Indirect manager) ถ้ามี สามารถเข้ามาตั้งเป้าหมายให้พนักงานได้ โดยที่ตัวพนักงานต้องมีการ review กับหัวหน้างานและทำการกรอกรายละเอียด KPIs เข้าระบบและทำการกด send for approval เพื่อส่งต่อไปยังหัวหน้างาน (Direct manager) ให้ทำการตรวจสอบและอนุมัติ
Performance Review : พูดคุยความคืบหน้ากับหัวหน้างานทุกๆไตรมาสหรือสามเดือน (Quarterly) โดยต้องมีการพูดคุยถึงความคืบหน้าของเป้าหมายการปฏิบัติงานแต่ละตัวที่ตั้งไว้, ปัญหา, การสนับสนุนและแนวทางแก้ไข รวมถึงมีการโค้ชชิ่ง (Coaching) ผ่านทางเครื่องมือ CPM ซึ่งใช้ในการบันทึกสาระสำคัญและข้อสรุปที่ได้จากการโค้ชชิ่งกับหัวหน้างานด้วย
Performance Evaluation : การประเมินผลการปฏิบัติงานปลายปี โดยที่พนักงานต้องทำการประเมินเพื่อให้คะแนนตนเองในเป้าหมายการปฏิบัติงานแต่ละข้อจากผลความสำเร็จที่เกิดขึ้นจริง สามารถให้ข้อคิดเห็น ก่อนทำการกด send for approval เพื่อส่งต่อไปยังหัวหน้างาน (Direct manager) ให้ทำการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานในขั้นถัดไปเพื่อเข้าสู่ Calibration
Performance Dialogue : เมื่อถึงต้นปีถัดมาหัวหน้างานจะนัดพนักงานเพื่อพูดคุยในส่วนของผลการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมาและให้ความคิดเห็นในการปรับปรุงและพัฒนากับตัวพนักงาน รวมถึงรายละเอียดการปรับเงินเดือนและโบนัสอย่างเป็นทางการ
Goal Setting มีการกำหนดสถานะอย่างไร
สถานะของ Goal setting มี 2 แบบคือ Unlock กับ Lock โดนตอนต้นปีจะอยู่ในสถานะ Unlock เพื่อให้พนักงานสามารถเข้าระบบเพื่อตั้งเป้าหมายการปฏิบัติงานและรายละเอียดต่างๆ เมื่อพนักงานตรวจสอบดีแล้วจึงกดส่งต่อเพื่อให้หัวหน้างานอนุมัติ เมื่อหัวหน้างานอนุมัติแล้วสถานะจะถูกเปลี่ยนเป็น Lock ซึ่งพนักงานสามารถเข้าไปดูรายละเอียดการปฏิบัติงานที่ตั้งไว้ได้ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนรายละเอียดต่างๆได้ เช่น วันเริ่มต้น วันสิ้นสุด น้ำหนัก ชื่อเป้าหมาย ฯลฯ ยกเว้นการ update status เช่น complete, delay, on track ฯลฯ เท่านั้น
ในกรณีที่พนักงานต้องการแก้ไขรายละเอียดของเป้าหมายการปฏิบัติงานต้องแจ้งหัวหน้างาน (Direct manager) ให้ทำการ Unlock และส่งกลับมายังพนักงานเพื่อทำการแก้ไข เมื่อเสร็จสิ้นแล้วพนักงานจะต้องกดส่งต่อเพื่อให้หัวหน้างานอนุมัติผลการเปลี่ยนแปลงและสถานะจะกลายเป็น Lock เหมือนเดิม
กรณีหัวหน้างานไม่อยู่หรือไม่สะดวก พนักงานสามารถให้ใครทำการ Unlock Goal Setting ให้ได้บ้าง
กรณีหัวหน้างานไม่อยู่หรือไม่สะดวก พนักงานสามารถให้ใครทำการ Unlock Goal Setting ให้ได้บ้าง
พนักงานจะกำหนดเป้าหมายปฏิบัติงาน (KPIs) มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
สถานะของ Goal setting มี 2 แบบคือ Unlock กับ Lock โดนตอนต้นปีจะอยู่ในสถานะ Unlock เพื่อให้พนักงานสามารถเข้าระบบเพื่อตั้งเป้าหมายการปฏิบัติงานและรายละเอียดต่างๆ เมื่อพนักงานตรวจสอบดีแล้วจึงกดส่งต่อเพื่อให้หัวหน้างานอนุมัติ เมื่อหัวหน้างานอนุมัติแล้วสถานะจะถูกเปลี่ยนเป็น Lock ซึ่งพนักงานสามารถเข้าไปดูรายละเอียดการปฏิบัติงานที่ตั้งไว้ได้ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนรายละเอียดต่างๆได้ เช่น วันเริ่มต้น วันสิ้นสุด น้ำหนัก ชื่อเป้าหมาย ฯลฯ ยกเว้นการ update status เช่น complete, delay, on track ฯลฯ เท่านั้น
ในกรณีที่พนักงานต้องการแก้ไขรายละเอียดของเป้าหมายการปฏิบัติงานต้องแจ้งหัวหน้างาน (Direct manager) ให้ทำการ Unlock และส่งกลับมายังพนักงานเพื่อทำการแก้ไข เมื่อเสร็จสิ้นแล้วพนักงานจะต้องกดส่งต่อเพื่อให้หัวหน้างานอนุมัติผลการเปลี่ยนแปลงและสถานะจะกลายเป็น Lock เหมือนเดิม
พนักงานควรกำหนดเป้าหมายการปฏิบัติงานอย่างไรดี
การกำหนดเป้าหมายการปฏิบัติงานควรใช้หลัก SMART
Specific หมายถึง ความเฉพาะเจาะจง โดยตัวชี้วัดที่กำหนดต้องมีความเกี่ยวข้องกับงานที่บุคลากรรับผิดชอบ หรือสอดคล้องกับหน้าที่ที่กำหนดไว้ในคำบรรยายลักษณะงาน (Job Description)
ตัวอย่างตัวชี้วัด: กรณีที่บุคลากรรับผิดชอบงานด้านการจัดซื้อ ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ %ของการจัดหาวัตถุดิบที่ตรงต่อเวลา หรือ % ของ Supplier ที่มีการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท เป็นต้น
Measurable หมายถึง การวัดได้ โดยตัวชี้วัดที่กำหนดต้องสามารถวัดออกมาในเชิงปริมาณหรือคุณภาพได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยทั่วไป งานที่จัดอยู่ในสายงานหลัก (Line Function) หรืองานที่เกี่ยวข้องกับกำไรและต้นทุนขององค์กร เช่น งานขาย งานตลาด งานผลิตส่วนใหญ่จะกำหนดตัวชี้วัดในเชิงปริมาณ แต่งานที่เป็นสายงานสนับสนุน (Support Function) เช่น งานคลังสินค้า งานจัดซื้อ งานบัญชี งานบุคคล ซึ่งเป็นงานที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของสายงานหลัก ส่วนใหญ่จะกำหนดตัวชี้วัดในเชิงคุณภาพ ได้แก่ ความถูกต้อง แม่นยำ ความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน หรือคุณภาพของงานที่แล้วเสร็จ เป็นต้น
ตัวอย่างตัวชี้วัด: %ความแม่นยำของคลังสินค้า %ของการจัดส่งสินค้าตรงต่อเวลา %ของสินค้าเสียหายต่อสินค้าคงคลัง เป็นต้น
Attainable หมายถึง การบรรลุได้ โดยตัวชี้วัดที่กำหนดต้องสามารถบรรลุผลสำเร็จได้ตามที่กำหนดไว้ และมีความสมเหตุสมผล หากองค์กรกำหนดให้ฝ่ายขายทำยอดขายเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัว ซึ่งปีที่ผ่านมา ฝ่ายขายทำยอดขายได้ 100 ล้านบาท แต่ในปีนี้ กำหนดให้ฝ่ายขายสร้างยอดขายให้ได้ 200 ล้านบาท การกำหนดยอดขายที่สูงเกินไปและขาดปัจจัยอื่นที่ช่วยสนับสนุนให้บรรลุผลสำเร็จดังกล่าวอาจส่งผลให้ฝ่ายขายเกิดความรู้สึกท้อแท้และหมดหวัง
ตัวอย่างตัวชี้วัด: รายได้ทั้งหมดจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น 15% จากปีที่ผ่านมา ช่องทางในการจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้น 3 ช่องทาง เป็นต้น
Relevant หมายถึงความสอดคล้องโดยตัวชี้วัดที่กำหนดต้องมีความเชื่อมโยงสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และกลยุทธ์ขององค์กร และต้องส่งผลให้เป้าหมายขององค์กรบรรลุผลสำเร็จ ทั้งเป้าหมายด้านการเงิน ลูกค้า กระบวนการภายใน และการเรียนรู้และการเติบโต นอกจากนี้การกำหนดตัวชี้วัดในระดับบุคคลต้องมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับตัวชี้วัดในระดับฝ่าย/ แผนก และตัวชี้วัดในระดับฝ่าย/ แผนกต้องสอดรับกับตัวชี้วัดในระดับองค์กรในภาพรวม
ตัวอย่างตัวชี้วัด: กรณีที่องค์กรมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ Call Center องค์กรสามารถกำหนดตัวชี้วัดดังต่อไปนี้
ระดับองค์กร: 90% ของการปฏิบัติงานด้าน Call Center เป็นไปตามกำหนด
ระดับฝ่าย: 90% ของลูกค้าที่ใช้บริการ Call Center มีความพึงพอใจ
ระดับแผนก: 90% ของลูกค้าที่ตอบแบบสำรวจทางโทรศัพท์มีความพึงพอใจในระดับมาก ระดับความสำเร็จของการจัดระบบบริการ Call Center อยู่ในระดับดีมาก
ระดับบุคคล: เจ้าหน้าที่รับโทรศัพท์: จำนวนสายที่วางไปก่อนรับบริการไม่เกิน 5 สาย/ วัน ร้อยละ 80 ของสายที่โทรเข้ามาได้รับการตอบรับสายจากเจ้าหน้าที่
เจ้าหน้าที่บริการลูกค้า: เวลาเฉลี่ยในการรอสายก่อนรับบริการจากเจ้าหน้าที่ต้องไม่เกิน 3 นาที
Timely หมายถึง ระยะเวลาแล้วเสร็จ โดยตัวชี้วัดที่กำหนดต้องกำหนดระยะเวลาที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ซึ่งอาจกำหนดเป็นชั่วโมง วัน เดือน ไตรมาส หรือ ปี ตามความเหมาะสม เพื่อให้บุคลากรรับทราบและเข้าใจเป้าหมายว่าต้องทำงานให้เสร็จในช่วงใด และสามารถจัดลำดับความสำคัญของงานก่อน-หลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างตัวชี้วัด: การเยี่ยมและติดตามลูกค้า 5 ราย/ เดือน การพัฒนาระบบ One Stop Service เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 12 เดือน จำนวนกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กับพนักงาน 3 กิจกรรม/ปี
Continuous Performance Management (CPM) คืออะไร
เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้พนักงานและหัวหน้างานสามารถระบุสาระสำคัญ กิจกรรมต่างๆ สิ่งที่ต้องทำ จากการโค้ชชิ่งในแต่ละครั้ง และเก็บบันทึกไว้ในระบบ และสามารถ comment เพื่อ update ความคืบหน้า, feedback ฯลฯ ทั้งยังสามารถ link กับเป้าหมายการปฏิบัติงานหรือ KPI ได้ด้วย
พนักงานและหัวหน้างานควรมีการ Coaching ผ่าน CPM บ่อยแค่ไหน
โดยปกติแล้วมีการกำหนดให้พนักงานและหัวหน้างานควรมีการพูดคุยความคืบหน้าของการปฏิบัติงานทุกๆไตรมาส แต่ระบบ CPM เปิดให้ใช้ได้ตลอดทั้งปีเพื่อให้สามารถเข้ามาใช้งานได้ตลอดเวลา ซึ่งพนักงานและหัวหน้างานที่มีความถี่ในการโค้ชชิ่งกันบ่อย ก็สามารถใช้ CPM ช่วยได้ ทั้งรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน ฯลฯ ตามความสะดวก
กำหนดให้มีการ Review บ่อยครั้งแค่ไหน
ในรอบปีระบบจะทำการเตือนให้พนักงานและหัวหน้างานเข้ามาพูดคุย ทบทวนและติดตามผลความคืบหน้าของเป้าหมายการปฏิบัติงานรวมถึงการโค้ชชิ่งต่างๆในระบบ ทุกๆไตรมาส (Quarterly)
ข้อมูล Performance Review ส่งผลต่อคะแนนการประเมินผลปฏิบัติงานหรือไม่
ข้อมูลและบันทึกต่างๆบน CPM เป็นแค่ข้อมูลส่วนหนึ่ง (Input) สำหรับหัวหน้างานที่สามารถใช้ประกอบในการประเมินผลปฏิบัติงานได้ แต่ความคืบหน้าต่างๆ comment ต่างๆ ไม่ได้มีผลทางตรงกับการประเมินคะแนน เพราะขึ้นอยู่กับความคืบหน้าของผลการปฏิบัติงานตอนปลายปีเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นหลัก ซึ่งการใช้ CPM ช่วยให้พนักงานและหัวหน้างานสามารถติดตามความคืบหน้า หาปัญหาและวิธีการแก้ไขได้ไวขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อการปฏิบัติงานระหว่างปี
กรณีที่พนักงานเข้าไป update เป้าหมายการปฏิบัติงานของตนระหว่างไตรมาส ระบบจะมี email แจ้งเตือนให้หัวหน้างานมั้ย
ระบบจะมี email แจ้งเตือนหัวหน้างานเมื่อพนักงานมีการเข้าไป update เป้าหมายการปฏิบัติงาน
การประเมินแบบ 360 องศา คืออะไร ทำไปเพื่ออะไร
การประเมินแบบ 360 องศา (360 Degree Evaluation) เป็นเครื่องมือในการประเมินตัวเองโดยใช้ข้อมูลจากคนรอบด้านตั้งแต่หัวหน้างาน (Direct manager or Indirect manager), เพื่อนร่วมงาน (Peers), ผู้ใต้บังคับบัญชา (Subordinates), ลูกค้าภายนอกองค์กร (External) มาประกอบการประเมินเพื่อให้สะท้อนถึงความเป็นจริงมากที่สุด ปัจจุบันหลายๆองค์กรภายนอกนำเครื่องมือนี้มาใช้ในการประเมินเพื่อมุ่งหาจุดที่ต้องเสริมต่อยอด, พัฒนาปรับปรุง ฯลฯ
ใครเป็นคนเลือกผู้ประเมินสำหรับการประเมินแบบ 360 องศาของพนักงาน
หัวหน้างาน (Direct manager) จะเป็นคนเลือกผู้ประเมินในแต่ละหมวด (category) ให้กับพนักงานผู้ใต้บังคับบัญชาของตน
หลักเกณฑ์ในการประเมินแบบ 360 องศาใช้อะไรเป็นตัวประเมิน
การประเมินแบบ 360 องศาจะประเมินโดยใช้ตัวชี้วัดเชิงพฤติกรรมตามสมรรถนะหลัก (Core competency) และสมรรถนะความเป็นผู้นำ (Leadership competency) ในกรณีที่ต้องใช้วัด ซึ่งจะเป็นการประเมินคะแนนโดยใช้ความถี่ในการแสดงออกถึงสมรรถนะแต่ละตัวเป็นหลักในการวัด รวมถึงคำถามปลายเปิดในเรื่องอื่นๆเช่น จุดแข็ง, จุดที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม ฯลฯ
ช่วงเวลาในการประเมินแบบ 360 องศาคือช่วงไหน และต้องทำกี่ครั้งต่อปี
การประเมินแบบ 360 องศาจะเริ่มส่งให้ประเมินภายในช่วงไตรมาสที่ 4 (Quarter 4 : Oct – Dec) ซึ่งทำ 1 ครั้งต่อปี
รายงานการประเมินผลแบบ 360 องศาจะเป็นอย่างไร
รายงานการประเมินผลแบบ 360 องศาจะมีการแสดงคะแนนแบ่งตามหมวดและหัวข้อสมรรถนะต่างๆเป็นกราฟแท่งจำแนกตามสี ซึ่งสามารถเลือกมุมมองของรายงาน ข้อมูลที่จะใช้แสดงในรายงานได้ตามความเหมาะสมโดยหัวหน้างานจะเป็นผู้รับ report ก่อนจะทำการเลือกข้อมูลและส่งต่อให้พนักงานต่อไป
ในรอบปีมีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างไรบ้าง
สำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานจะมีในช่วงปลายไตรมาสที่ 4 โดยเริ่มต้นจากการที่พนักงานประเมินตนเองในระบบทั้งผลลัพธ์ของเป้าหมายการปฏิบัติงานแต่ละตัว (KPIs) และพฤติกรรมตามสมรรถนะ (Core and Leadership Competency) เมื่อพนักงานประเมินตนเองเสร็จต้องกดส่งต่อไปยังหัวหน้างาน (Direct manager) ให้เป็นผู้ประเมินคะแนนในขั้นตอนสุดท้ายต่อไป โดยคะแนนจากการประเมินตนเองของพนักงานเป็นแค่ Input สำหรับหัวหน้างาน (Direct Manager) เท่านั้น
ตารางคะแนนในการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นอย่างไรบ้าง
ตารางคะแนนในการประเมินผลการปฏิบัติงานจะแบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้
สำหรับเป้าหมายการปฏิบัติงาน (KPIs) ได้แก่
– ผลการปฏิบัติงานดีเลิศ เป็นที่ประจักษ์ (Outstanding Performance)
– ผลการปฏิบัติงานดีกว่ามาตรฐาน (Performance Above the Standard)
– ผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐาน (Standard Performance : Meet Target)
– ผลการปฏิบัติงานพอใช้ (Fair Performance)
– ผลการปฏิบัติงานยังมีจุดต้องปรับปรุง (Improvement Needed Performance)
สำหรับพฤติกรรมตามสมรรถนะ (Core and Leadership Competency) ได้แก่
– แสดงพฤติกรรมชัดเจนอย่างสม่ำเสมอและสามารถโน้มน้าวผู้อื่นโดยเป็นแบบอย่างที่ดีได้ (Always clearly show the behavior & Influence others as role model)
– แสดงพฤติกรรมประจำเป็นปกติ (Normally show the behavior)
– แสดงพฤติกรรมบ่อยครั้ง (Often show the behavior)
– แสดงพฤติกรรมบ้าง ไม่แสดงบ้าง (Sometime show the behavior)
– ไม่ค่อยแสดงพฤติกรรม (Rarely show the behavior)
หัวหน้างานทางอ้อม (Indirect manager) จะประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างไร
เนื่องจากขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงานในระบบถูกกำหนดให้หัวหน้างานทางตรง (Direct manager) เป็นผู้มีสิทธิ์ในการประเมินคะแนนผลการปฏิบัติงานของ KPIs ทั้งหมดของพนักงานได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ดังนั้นหัวหน้างานทางอ้อม (Indirect manager) สามารถประเมินคะแนนผลการปฏิบัติงานของเป้าหมายการปฏิบัติงาน (KPIs) ที่ตั้งไว้ให้พนักงานได้โดยต้องให้หัวหน้างานทางตรง (Direct manager) ส่ง Ask for Feedback ที่มีหัวข้อเป้าหมายการปฏิบัติงาน (KPIs) ที่เกี่ยวข้องกับหัวหน้างานทางอ้อม (Indirect manager) ไปให้ และทำการกรอกข้อมูลส่งกลับไปให้หัวหน้างานทางตรง (Direct manager) เพื่อทำการใส่คะแนนการประเมินในระบบให้พนักงาน
พนักงานจะทราบผลการประเมินทั้งหมดได้อย่างไร
เมื่อพนักงานประเมินตนเองในระบบและส่งให้หัวหน้างานเรียบร้อยแล้ว พอถึงต้นปีถัดมาหัวหน้างานจะนัดพนักงานเพื่อพูดคุยในส่วนของผลการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมาและให้ความคิดเห็นในการปรับปรุงและพัฒนากับตัวพนักงาน รวมถึงรายละเอียดการปรับเงินเดือนและโบนัสอย่างเป็นทางการ
โมดูล EC-FO
EC - FO คืออะไร
คือข้อมูลที่มีการผูกความสัมพันธ์ออกมาในรูปแบบของโครงสร้างผังองค์กร ก่อนจะนำไปผูกกับข้อมูลพนักงาน
มีการดำเนินการใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับ EC-FO
เปิด/ปิด/แก้ไขโครงสร้างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ บริษัท, สาขา, แผนก, Org Chart, กรอบอัตรากำลัง, Work schedule, ลักษณะงาน, พื้นที่ปฏิบัติงาน เป็นต้น
ความหมายของ Foundation
Organization = ชื่อแผนก ของพนักงาน
Company = ชื่อบริษัท
SSO Location = สาขาที่นำส่งประกันสังคม
Store/Branch = Code สาขาที่พนักงานสังกัด
Store Format = ประเภทของสาขา
Work Location = สถานที่ปฏิบัติงาน
Holiday Type Condition = รูปแบบวันหยุดประจำปี
Policy Profile = ฟิลด์ที่ใช้สำหรับผูกสิทธิ์ / เงื่อนไขสวัสดิการต่างๆ
Position Name = ชื่อตำแหน่งงาน
Position Criticality = ตำแหน่งงานที่เป็น key position
Position Controlled = ห้ามใช้คนเกิน FTE ของ Position
Multiple Incumbents Allowed = อนุญาตให้ Position นั้นมีคนนั่งได้มากกว่า 1 คน
FTE = กรอบอัตรากำลัง
Work Schedule = วันทำงานต่อสัปดาห์ + ชั่วโมงทำงานต่อวัน
Job Family – Sub Family = ลักษณะงาน
Job Code = ลักษณะงาน + ระดับพนักงาน (Code)
Job Role = ลักษณะงาน + ระดับพนักงาน (Name)
Parent Position = ตำแหน่งงานที่ขึ้นตรง (Parrent position)
โมดูล EC-EMP
Module Employee Central คืออะไร
คือระบบที่ใช้สำหรับจัดเก็บประวัติพนักงานทั้งข้อมูลส่วนตัว, ประวัติการทำงาน รวมถึงข้อมูลเงินเดือน และแผนผังโครงสร้างองค์กร (Org Chart)
Module Employee Central ใช้งานอย่างไร
เป็นระบบที่เปิดให้บริการในรูปแบบเว็บไซด์ และ Mobile Application ที่สามารถเชื่อมต่อ Internet ได้
Module Employee Central เกี่ยวข้องอย่างไรกับพนักงาน (End User)
พนักงานสามารถดูข้อมูลของตนเอง และสายบังคับบัญชาผ่านระบบ Self-Service รวมถึงสามารถแก้ไขข้อมูลบางอย่างได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องรอการอนุมัติ เช่น เบอร์โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น สำหรับข้อมูลบางอย่างที่จำเป็นจะต้องได้รับการอนุมัติข้อมูลถึง update ขึ้นระบบได้ แบ่งเป็น
1. Employee Self-Service เช่น การเปลี่ยนชื่อ-สกุล, ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
2. Manager Self-Service เช่น การปรับตำแหน่งงาน เป็นต้น
ข้อมูล Org Chart ไม่ถูกต้อง ต้องแจ้งใครและใช้เวลาการแก้ไขให้ถูกต้องกี่วัน (Interim)
แจ้งข้อมูลที่ถูกต้องกับ ESC ที่ดูแลท่าน ข้อมูลจะมีการ Cut-off ทุกๆวันที่ 1 ของทุกเดือน และจะนำเข้าระบบทุกๆวันที่ 15 ของเดือน
ข้อมูลบนระบบไม่ถูกต้อง ต้องแจ้งใครและใช้เวลาในการดำเนินการกี่วัน?
แจ้งข้อมูลที่ถูกต้องกับ ESC ที่ดูแลท่าน ข้อมูลจะมีการ Cut-off ทุกๆวันที่ 1 ของทุกเดือน และจะนำเข้าระบบทุกๆวันที่ 15 ของเดือน
หัวหน้าสามารถดูรายการที่ตนเองต้องอนุมัติและรายการที่อนุมัติแล้วได้ที่ไหน?
ค้นหา “View my Pending Request” >>> จะเจอรายการที่รอการอนุมัติ (Requests Waiting for My Approval) และรายการที่อนุมัติไปแล้ว (Requests Still In Progress that I Approved )
พนักงานสามารถดูรายการที่ตนเองขออนุมัติได้ที่ไหน?
ค้นหา “View my Pending Request” >>> จะเจอรายการที่ขอและรอการอนุมัติ (My Requests Waiting for Approval) ***หากไม่มีรายการในกล่องนี้ แสดงว่ารายการนั้นถูกอนุมัติไปแล้ว
มีการดำเนินการใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับ EC-EMP
การเปลี่ยนแปลงข้อมูลต่างๆของพนักงาน ได้แก่ บันทึกเข้าใหม่, โอนย้าย, ปรับตำแหน่ง, ปรับเงินเดือน, บันทึกลาออก, แก้ไขข้อมูลส่วนตัวต่างๆ เช่น เปลี่ยนชื่อ-สกุล / ระดับการศึกษา / บุคคลติดต่อ / ที่อยู่ / เบอร์โทรศัพท์ / ความสามารถทางภาษา / ความดี-ความผิด / กรมบังคับคดี / เงินกู้บริษัท / เงินกู้ กยศ / ข้อมูลโครงการทวิภาคี ฯลฯ
ความหมายฟิลด์ของ Employee data
Employee Group = ประเภทพนักงาน
Employee Sub Group = ประเภทย่อยของพนักงาน
Contract Type = ประเภทสัญญาการจ้าง
Org Chart = สายบังคับบัญชา (หัวหน้า – ลูกน้อง)
Position Org Chart = สายตำแหน่งงาน (Parrent & Child position)
Event Action = ที่จะดำเนินการ
Event Reason Action = ย่อยที่จะดำเนินการ
โมดูล TAM
วิธีการคิด OT คิดอย่างไร
วันทำงาน หลังเลิกงานจ่าย 1.5 เท่า วันหยุดในเวลาทำงานจ่าย 1 เท่า หลังเลิกงานจ่าย 3 เท่า คิดจากฐานเวลาทำงานจริง
ต้องการตรวจสอบ OT ที่อนุมัติไปแล้วมีกี่ชั่วโมง
สามารถไปดูได้ที่ View Report >Manager Report > Timesheet Report > Hours by Pay code >Paycode=OT Request
วันไหนที่ตัดสาย / ขาดงานโดนหักเงินวันไหน
พนักงานสามารถดูข้อมูลสภาพรอบปัจจุบัน และย้อนหลังได้ผ่านเมนู My Time Sheet > Tab Results
ขอ OT ในระบบจะทราบได้อย่างไรหัวหน้าอนุมัติหรือไม่ต้องทำอย่างไร
ดู Status ผ่าน My timesheet Tab Result เลื่อนดูในวันที่ทำการขอโอทีไว้
สอบถามสิทธิวันลาต่าง ๆ เช่น พักร้อน เหลือสิทธิกี่วัน,ลาสมรสได้กี่วัน เป็นต้น
พนักงานสามารถดูสิทธิ์วันลาคงเหลือได้ที่หน้า home Screen Tab> Leave Balances
ลาพักร้อนไปแล้วกี่วันทำไมยอดในสลิปไม่ตรง
ยอดที่แสดงในสลิปเป็นวันที่สะสมถึงวันที่ 20 พนักงานสามารถดูประวัติวันลาได้ที่เมนู My Time Sheet > Tab Time off
มีสภาพการลาวันไหนบ้าง
พนักงานสามารถดูประวัติวันลาได้ที่เมนู My Time Sheet > Tab Time off
ขอลาในระบบต้องทำที่ไหน
สร้างรายการลาผ่านเมนู my time off
การลายาว ๆ ต้องคีย์อย่างไร เว้นวันหยุดหรือไม่
ไม่ต้องบันทึกเว้นวันหยุด ระบุแค่วันที่เริ่ม – วันที่สิ้นสุดได้เลย โดยระบบจะคำนวนเองว่าการลาประเภทนี้นับรวมวันหยุดหรือไม่
ลาป่วยเหลือกี่วัน
พนักงานสามารถดูสิทธิ์วันลาคงเหลือได้ที่หน้า home Screen Tab> Leave Balances
ลาคลอดได้เงินไม่ครบ
พนักงานสามารถดูประวัติวันลาได้ที่เมนู My Time Sheet > Tab Time off
ต้องการแก้ไขวันลาที่ Submit ไปแล้วต้องทำอย่างไร
หากหัวหน้ายังใม่ Approve พนักงานสามารถ Cancel รายการได้เอง
หากหัวหน้า Approved เรียบร้อย ต้องแจ้งหัวหน้าทำการ Cancel รายการ
ได้รับเงินไม่ครบ เช่นค่าพาหนะ / ค่ากะ / ค่าเบี้ยเลี้ยง ฯ
พนักงานสามารถดูข้อมูลสภาพรอบปัจจุบัน และย้อนหลังได้ผ่านเมนู My Time Sheet > Tab Results
หัวหน้า Approve วันลาแล้วต้องการยกเลิกวันลาทำอย่างไร
เข้าเมนู review timeoff request > เลือกรายการที่ Approved แล้ว กดปุ่ม Cancel รายการ
ขอ OT ในระบบต้องทำอย่างไร
เข้าเมนู My timesheet > เลือกวันที่ต้องการขอโอที > Add OT Request โดยระบุ Start Time – End Time
มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ทำงานแทนต้องทำอย่างไร
เลือกเมนู Manage Delegate
ขอรอบเวลาทำงาน และเวลาเข้าออก ของทั้งฝ่าย/สาขา เพื่อนำไปเขียน OT และทำสภาพการลาต่างๆ
พนักงานสามารถดูข้อมูล รอบเวลาทำงาน และเวลาเข้าออกของตนเองได้ผ่านเมนู My Time Sheet
กรณีหัวหน้างาน สามารถดูข้อมูลลูกน้องแบบรายบุคคลได้ผ่านเมนู Edit Employee Time หรือ Export รายงานเพื่อดูลูกน้องทั้งหมดผ่านเมนู
View Report >Manager Report > Schedule Report
ตรวจสอบข้อมูลการลาลูกน้องต้องทำอย่างไร
เข้าเมนู review timeoff request > เลือกรายการที่ Approved แล้ว กดปุ่ม Cancel รายการ
ลาในระบบจะทราบได้อย่างไรหัวหน้าอนุมัติหรือไม่ต้องทำอย่างไร
1 ดู Status หน้า Home ผ่านตาราง My Leave Request
2.ดู Status ผ่านเมนู my time off จะแสดงรายการตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน
การลาประเภทใดบ้างที่ Admin ต้อง Adjust Quota
Sterilization Leave -ลาทำหมัน
Priesthood Leave – ลาบวช
Military Train Leave – ลารับราชการทหาร
Funeral Leave – ลาพิธีศพ
Accident Leave – ลาเนื่องจากได้รับบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุ จากการทำงาน
เขียนวันลาออกผิดวัน (ออกวันที่ 1 เขียนวันที่ 30 เป็นต้น)
ผู้รับเอกสารต้องสอบถามพนักงานก่อนนำส่ง เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง
Admin สามารถ ปรับเปลี่ยนโควต้า ให้กลุ่มพนักงานที่ไม่ได้รับสิทธิ์การลาได้หรือไม่
Admin สามารถ ปรับเปลี่ยนโควต้าให้ได้
Leave Balances หน้า Home แสดงวันคงเหลือก่อนหรือหลัง Manager Approve
ก่อน Manager Approved
ขอตกเบิกปรับสภาพย้อนหลังไม่ได้รับเงิน
พนักงานสามารถดูข้อมูลสภาพรอบปัจจุบัน และย้อนหลังได้ผ่านเมนู My Time Sheet > Tab Results
หัวหน้ากรอกความคิดเห็นใส่ลงไปตอน Approve หรือ Reject จะสามารถอ่านได้จากที่ไหน
– พนักงานสามารถดูได้ที่หน้า My Time Off
– หัวหน้าสามารถดูได้ที่หน้า Review Time Off Request
เวลาบน Web Clock และ Mobile Clock อิงเวลาตามระบบอะไร
ระบบคำนวณเวลาจากเครื่อง server WFS
รายการสิ่งที่ต้องทำ
“To Do” Tile คืออะไร?
สามารถเข้าถึงรายการสิ่งที่ต้องทำ ได้อย่างไร?
ฟังก์ชั่น “บันทึกไว้ภายหลัง” (Save) คืออะไร และใช้เพื่ออะไร?
กระบวนการทำงาน
หลังจากที่ทำรายการเสร็จสมบูรณ์แล้ว ระบบจะส่งอีเมลไปแจ้งใคร?
ต้องใช้ระยะเวลาในการอนุมัตินานเท่าไร หลังจากที่ผู้ทำรายการผ่านระบบเพื่อให้ผู้มีอำนาจอนุมัติผ่านระบบ?
ช่องที่มีเครื่องหมาย * กำกับอยู่ หมายถึงอะไร?
อะไรคือหมายเลขประจำตัวพนักงาน (Empl ID)?
ถ้าทำรายการ และบันทึกเก็บรายการไว้ก่อน (Save) แล้วผู้ใช้รายอื่นสามารถลงชื่อเข้าใช้ และส่งรายการแทนฉันได้หรือไม่ หากฉันไม่สามารถเข้าสู่ระบบได้?
ความช่วยเหลือเกี่ยวกับ CneXt
หากต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับ CneXt จะติดต่อใคร?
กรุณาติดต่อ Peoplecare ที่เบอร์: 02-101-9111 หรือ Email: [email protected] เพื่อขอรับคำแนะนำและแก้ไขปัญหา
โมดูล Recruitment Management (RCM)
RCM ย่อมาจากอะไร
Recruitment Management
ใครที่สามารถเปิด Job Requisition ได้บ้าง?
พนักงานที่มีลูกน้องตั้งแต่ JG 14 (Division UP) ขึ้นไป และ Recruiter
Hiring Manager สามารถทำอะไรบนระบบ RCM ได้บ้าง?
Hiring Manager สามารถเปิด Job Requisition, Select Candidate, Comment Interview, Rating Candidate, Offering, View Candidate Status
Job Requisition แต่ละตัวมีกำหนด Due Date หรือไม่?
Job Requisition ทุกตัวมีกำหนด Due Date มาตรฐานไว้ที่ 30 วัน
Reg ID หมายถึงอะไร
Reg ID คือ ตัวเลขที่ถูก Generate ขึ้นมากำกับ Job Requistion ที่ถูกสร้างขึ้นมาในระบบ
Age(Days) หมายถึงอะไร
SLA ของแต่ละ Job Requisition
Item per page สามารถแสดงได้สูงสุดเท่าไหร่ (ต่อ 1 page)?
จำกัดจำนวนที่ 150 ตำแหน่งต่อหนึ่งหน้า
ทำไมถึงค้นหาตำแหน่งงานของตัวเองไม่เจอ?
แนะนำให้ปลดกรอง Filter ด้วยการกด Clear Filter เพื่อให้ยกเลิการกรอง Job Requisition
ถ้า Hiring Manager สร้าง Job Requestion แล้ว แต่ทาง Recruiter ยังสรรหา Candidate ไม่ได้ ทาง Hiring Manager จะทราบได้อย่างไรว่าต้องรอนานแค่ไหน หรือขั้นตอนการสรรหาถึงขั้นตอนไหน
Hiring Manager สามารถดู Work Progress ของ Job Requisition ได้จากที่หน้าจอหลัก ดังภาพ
ถ้าไม่กำหนด Competency ลงใน Job Description จะเป็นอย่างไร?
ในขั้นตอน Rating จะไม่สามารถให้คะแนน Candidate แบบเลือกคะแนนได้ จะทำได้เพียงชอบหรือไม่ชอบ
ถ้าไม่ใส่ข้อมูล Postal Code จะเกิดอะไรขึ้น?
ตำแหน่งงานก็จะไม่สามารถไป Post Job อยู่หน้า Map ของ RMK
ในขั้นตอน Recruitement Pipeline สามารถข้ามขั้นตอนได้หรือไม่?
ระบบรองรับให้สามารถทำได้
ระบบจะเริ่มนับ SLA เมื่อไหร่?
ตั้งแต่ที่ Recruiter Approve Job Requisition
ระบบจะหยุดนับ SLA เมื่อไหร่?
แบ่งเป็น 2 กรณีคือ
1.เมื่อ Job Requisition ไปสิ้นสุดที่ Ready to Hire
2.เมื่อมีการ Hold Job Requisition แต่กรณีนี้จะเป็นการหยุดนับ SLA ชั่วคราว เมื่อยกเลิกการ Hold ก็จะดำเนินการนับต่อจากเดิม
ใครที่สามารถลบ Job Requisition ได้บ้าง?
ผู้ที่เป็นผู้เปิด Job Requisition และ Recruiter
ถ้ามีการลบ Job Requisition จะทราบได้อย่างไร?
จะมี Email Notification แจ้งไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องกับ Job Requisition
สามารถทำทดสอบบนระบบได้หรือไม่?
ระบบไม่มีรองรับการทำแบบทดสอบในระบบ แต่สามารถทำการทดสอบจากนอกระบบ และนำผลการทดสอบมาแนบบนระบบได้
ใครที่สามารถเข้าใช้งาน Internal Careers ได้บ้าง?
พนักงานที่มี Level ตั้งแต่ JG14 ขึ้นไป
การนัดหมายการสัมภาษณ์ใช้ Calendar เดียวกับ Email on O365 ได้หรือไม่?
สามารถเชื่อมต่อเป็นเมล์เดียวกันได้
สามารถนัดหมายการสัมภาษณ์ได้สูงสุดกี่คน?
5 คน
สามารถทำ Offer ได้มากกว่า 1 คนได้หรือไม่?
สามารถทำการ Offer ได้มากกว่า 1 คน
เมื่อ Post Job ไปแล้วต้องใช้เวลานานเท่าไหร่กว่า Job จะ Post ไปบนหน้าเว็ปไซต์?
20 – 30 นาที โดยประมาณ
สามารถตรวจสอบ Black List บนระบบ RCM ได้หรือไม่?
บนระบบ RCM ไม่มีรองรับ ต้องตรวจสอบจากข้างนอกและนำมาบันทึกบนระบบ
Application on Mobile สามารถใช้งานส่วนของ RCM ส่วนใดบ้าง?
สามารถทำได้ 3 ส่วน คือ
1.Approve Job Requisition
2.Rating
3.Offering
OS ขั้นต่ำที่รองรับ Application on Mobile คือ?
IOS Version 10 ขึ้นไป และ Android Version 5 ขึ้นไป
ถ้าพนักงานอยู่นอกบริษัทสามารถเข้าใช้ระบบ RCM ได้หรือไม่?
ระบบ RCM ใช้ Base Web Browser ดังนั้น ถ้ามี internet จะสามารถใช้ระบบได้ทุกที ทุกเวลา
ระบบไม่นับ SLA ในกรณีที่เปิด Job Requisition ด้วย Hiring Manager
บางครั้งต้องไปกระตุ้นให้ Time to fill และ Age of Requisition นับที่ Admin Center > Manage Recruiting Setting section Job Requisition โดยการ ปรับการนับเช่น เปลี่ยน Age of Requisition จาก Approve Date เป็นอย่างอื่นก่อน แล้ว Save จากนั้นเปลี่นกลับมาเป็น Approved date เหมือนเดิมแล้ว Age Days จะขึ้นมา
Menu Navigation ของ Recruit นั้นทำอะไรบ้าง
Menu Navigation มีความหมายดังนี้
1.Job Requisition : เมนูที่แสดงข้อมูล Job Requisition ทั้งหมด โดยเมนูนี้จะเป็นเมนูหลักของ RCM ในการสร้าง Job Requisition และความเคลื่อนไหวของ Job Requisition
2.Preferences : เมนูสำหรับสร้างคำถามเฉพาะรายบุคคล
3.Candidate : เมนูสำหรับค้นหา Candidate Pools และสร้างข้อมูล Candidate ไว้ใช้เก็บใน Candidate Pools
4.Interview Central : เมนูสำหรับเข้ามาทำการ Rating ให้กับ Candidate
5.Interview Scheduling : เมนูสำหรับเข้ามาทำการนัดผู้สมัครและพนักงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสัมภาษณ์ Candidate
6.Source Tracker : เมนูสำหรับเช็คแหล่งที่มาของ Candidate
Dummy Recruiter นั้นอยากให้เพิ่มหน้าที่ว่าต้องทำอะไรบ้าง
Dummy Recruiter คืออะไร? ตัวแทนของ Recruiter ในหน่วยงานนั้น ให้เลือกใช้ในกรณีที่ Hiring Manager ไม่ทราบชื่อของ Recruiter
Dummy Recruiter คือใคร? ตัวแทนของ Recruiter 1 ท่าน ในหน่วยงานนั้น
Dummy Recruiter ทำหน้าที่อะไร? มอบหมาย JR ที่มีการสร้างมาจาก Hiring Manager ไปยัง Recruiter ที่ดูแลตำแหน่งงานนั้นอย่างถูกต้อง
เหตุใด Business Unit จึงไม่Default ตามUser เพื่อลดขั้นตอนและประหยัดเวลา
ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2561 จนถึง 31 มีนาคม 2562 (Before EC-Core Go-Live)
ระบบไม่ได้ default ค่า Business Unit ตาม User Login จึงจำเป็นจะต้องให้ User ทำการเลือก Business Unit ของ Job Requisition ที่ต้องการสร้าง
ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2562 เป็นต้นไป (After EC-Core Go-Live)
ระบบจะ default ค่า Business Unit จาก Position Structure ที่ต้องการสร้าง Job Requisition
ข้อมูลที่กรอกใน Job Requsition ทั้งหมดให้ใช้เป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษก็ได้ใช่หรือไม่ (Consistency ?)
ระบบรองรับการ input ข้อมูลได้ทั้ง 2 ภาษา (ภาษาไทย-อังกฤษ)
ERP Amount คืออะไร
ERP คือ Employee Referral Program (โครงการ Friend get Friend) โดยฟิลด์นี้จะเป็น Reference information ที่ให้ทาง Recruiter ระบุว่าตำแหน่งงานนี้มีจำนวนเงินสำหรับการ Refferal เป็นจำนวนเท่าไหร่
Hiring Mgr. ต้องการระบุ Range ของอัตราเงินเดือนที่ต้องการสำหรับตำแหน่งต่างๆ ตาม Budget ที่กำหนดไว้ ลงไปใน JR นั้นๆเลยได้หรือไม่ (เพื่อประสิทธิภาพในการสรรหา Candidate อีกด้วย)
กรณีที่ Hiring Manager ต้องการแชร์ information ไปยัง Recruiter เช่น Salary Range สามารถทำได้ที่ฟิลด์ Note to Recruiter (ตรงส่วนท้ายของการกรอก Job Requisition)
Hiring Mgr. กด Submit JR ให้ BHR Approve แล้วไม่สามารถแก้ไขได้อีกใช่หรือไม่ ถ้าต้องการแก้ไขสามารถดำเนินการอย่างไร ระบบไม่Support จึงต้องโทรแจ้ง BHR เองใช่หรือไม่ (เนื่องจากอาจมีบางรายละเอียดที่ต้องการเปลี่ยนแปลง/แก้ไข/เพิ่มเติม)
การแก้ไข Job Requisition แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
– กรณีที่ยังไม่ได้ Post Job สามารถทำได้ 2 แบบ
1.ส่งอีเมล์แจ้ง BHR หรือ Recruiter ให้อัปเดท information ตามที่แจ้ง
2.ส่งอีเมล์แจ้ง BHR หรือ Recruiter ให้ทำการ Decline Job Requisition เพื่อให้ Hiring Manager ดำเนินการอัปเดท information
– กรณีที่ Post Job แล้ว จะมีขั้นตอน ดังนี้
1.Hiring Manager ส่งอีเมล์ให้กับ Recruiter เพื่อแจ้งให้อัปเดท information
2.Recruiter จะเป็นผู้ดำเนินการอัปเดท information ได้เพียงผู้เดียว
Hiring Manager จะทราบได้อย่างไรว่า Job Requesition ถูก Approve แล้ว มีการแจ้งเตือนผ่านช่องทางใดหรือไม่
ระบบจะมีการแจ้งเป็น Email Notification ให้กับ Hiring Manager ดังนี้
1.เมื่อ BHR Acknownledge Job Requisition
2.เมื่อ Recruiter Approve Job Requisition
Average Days Open มีประโยชน์ต่อ Hiring Manager อย่างไร
Average Days Open มีไว้เพื่อบอกค่าเฉลี่ยจำนวนวันของ Job Requisiton ที่ Hiring Manager เปิดไว้บนระบบและยังไม่มี Status เป็น Ready to Hire โดยจะเฉลี่ยเฉพาะที่มี Status เป็น Open and Pending Job Requisition เท่านั้น
ถ้า Hiring Manager สร้าง Job Requestion แล้ว แต่ทาง Recruiter ยังสรรหา Candidate ไม่ได้ ทาง Hiring Manager จะทราบได้อย่างไรว่าต้องรอนานแค่ไหน หรือขั้นตอนการสรรหาถึงขั้นตอนไหน
Hiring Manager สามารถดู Work Progress ของ Job Requisition ได้จากที่หน้าจอหลัก ดังภาพ
ถ้ามี Candidate ใหม่ สมัครงานเข้ามา จะมี Notification แจ้งให้ Hiring Manager ทราบหรือไม่
ไม่มี Notification แจ้งให้ทราบ แต่ Hiring Manager สามารถเช็คได้จากหน้า Job Requisition ว่ามี Candidate เข้ามาสมัครกี่คน
ถ้า Hiring Manager Pre-creen Candidate ที่ Recruiter เสนอมาแล้วไม่ผ่านการพิจารณา นอกจากวิธีการกรอกข้อมูลและระบุว่าจะสัมภาษณ์หรือไม่แล้ว ไม่มีวิธีการ Reject ในระบบเพื่อแยกคน 2 กลุ่มนี้ออกจากกันใช่หรือไม่ (ต้องเข้าไปดูรายละเอียดในชื่อของ Candidate นั้นๆ เอง)
ในกรณีที่มี Candidate ไม่ผ่านการพิจารณา ให้นำชื่อ Candidate ไปไว้ที่ track Unsuccessful เพื่อแบ่งกลุ่ม Candidate ที่ผ่านการคัดเลือกและไม่ผ่านการคัดเลือก
Candidate จะทราบหรือไม่ว่าตนเอง Disqualify ใครจะเป็นผู้แจ้ง Candidate หรือมีช่องทางใดที่จะทำให้ทราบ / Recruiter จะทราบหรือไม่ว่า Candidate ท่านใด Disqualify
Candidate จะไม่ทราบผลของการคัดเลือก จนกว่าเจ้าหน้าที่ recruiter จะโทรติดต่อกลับไปแจ้งเอง (candadate ไม่เห็น status ของตัวเองในระบบ)
ในขั้นตอนการส่งอีเมล์ Interview Scheduling และส่งสถานที่ให้กับ Candidate นอกจากสามารถส่งเป็น Google Map แล้ว ยังสามารถเฉพาะเจาะจงเป็นพิกัดได้เลยหรือไม่
ในส่วนของการเพิ่มข้อมูลอื่นๆ ลงในอีเมล์ Interview scheduling สามารถปรับเปลี่ยนได้แค่ในรูปแบบของ Text หรือแนบรูปภาพ (Map) ได้เท่านั้น ตามที่แจ้งใน Training Session ซึ่งระบบไม่มีฟังก์ชั่นระบุเป็นพิกัดที่ชัดเจน ยกเว้นแต่ส่ง link google map เพื่อระบุพิกัดลงไปให้ candidate ในอีเมล์
ในขั้นตอน Offer Approval ไม่มีตัวเลือกให้ Recruiter กรอกข้อมูลเพื่อแสดงให้ Hiring Mgr. เห็นถึง Hiring Rate
แนะนำให้ Hiring Manager ใส่ข้อมูลอัตราเงินเดือนของพนักงานที่สามารถจ้างได้ตั้งแต่ขั้นตอนสร้าง Job Requisition เพื่อให้ Recruiter ทราบ (Duplicate)
ในขั้นตอน Offer Approval หาก Recruiter กดส่งให้ Approver แล้วพบข้อผิดพลาดภายหลัง เช่น อัตราเงินเดือน สวัสดิการ หรือรายชื่อ Approver จะไม่สามารถ Withdraw หรือแก้ไข/เพิ่มเติมได้อีกใช่หรือไม่ (เสียเวลาเนื่องจากต้องโทรแจ้ง Approver ให้กด Decline และกรอกข้อมูลใหม่ทั้งหมด)
ในกรณีที่ใส่ข้อมูลในขั้นตอน Offer Approval ผิดและกดส่งไปแล้วจะไม่สามารถเรียกกลับมาแก้ไขได้ นอกจากการให้ Approver ปลายทาง Decline กลับมาให้ แต่การส่งกลับมา Recruiter จะไม่ต้องทำใหม่ทั้งหมด แต่จะเป็นการแก้ไขส่วนที่ต้องการแก้ไขเท่านั้น เพราะระบบจะส่งข้อมูลทั้งหมดกลับมาให้
Job board คืออะไร
job board คือ เว็บไซต์สำหรับโพสต์หาตำแหน่งงานที่จัดทำโดยนายจ้าง โดยมีค่าใช้จ่ายในการโพสต์งานเพื่อสรรหาบุคคลากรตามตำแหน่งงานที่ต้องการ
Custom feed job board คืออะไร
custom feed job board คือ job board ที่ได้รับความสนใจเป็นจำนวนมาก โดยจะมีค่าใช้จ่ายในการโพสต์งานเพื่อสรรหาบุคคลากร ซึ่งแผนกสรรหาบุคคลากรจะทำการเลือกและกำหนด custom feed job board สำหรับโพสต์งาน ตำแหน่งงานจะถูกโพสต์อัตโนมัติเมื่อได้รับการอนุมัติคำร้องขอ โดยไม่ต้องดำเนินการใดๆ
ข้อกำหนดของ feed job board คืออะไร
ข้อกำหนดในการใช้ feed job board คือ job board อิสระที่สามารถโพสต์หาตำแหน่งงานได้ หลังจากที่แผนกสรรหาบุคคลากรทำการเลือก job board ในการโพสต์งาน ตำแหน่งงานจะถูกโพสต์อัตโนมัติเมื่อได้รับการอนุมัติคำร้องขอ โดยไม่ต้องดำเนินการใดๆ job board ที่สามารเลือกโพสต์หาตำแหน่งงานได้คือ jobsDB Thailand Jobs และ linkedin jobs
โมดูล Learning Management System (LMS)
LMS เป็นคำที่ย่อมาจากอะไร
LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม – ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
โมดูล Onboarding OBN
Onboarding Module คืออะไร
Onboarding Module คือ ระบบที่มาช่วยสร้างประสบการณ์ให้กับพนักงานใหม่ ได้รู้จักกับ Central Group ตั้งแต่ก่อนการเริ่มงาน อีกทั้ง ยังสามารถช่วยให้พนักงานได้จัดเตรียมข้อมูลส่วนตัวของตนเอง เพื่อให้มีข้อมูลพร้อมตั้งแต่วันแรกของการเริ่มงาน นอกจากนี้ Onboarding Module ยังช่วยให้หัวหน้างาน ได้รู้ล่วงหน้า ในกรณีที่มีพนักงานจะมาเริ่มงาน ทำให้หัวหน้างาน สามารถเตรียมความพร้อมเพื่อรอรับพนักงานใหม่ได้
Onboarding Module เกี่ยวข้องกับใครบ้าง
Onboarding Module จะเกี่ยวข้องกับ พนักงานใหม่ และ หัวหน้างาน
พนักงานใหม่ สามารถเริ่มงาน Onboarding Module ได้เมื่อไหร่
พนักงานใหม่สามารถเริ่มใช้งาน Onboarding Module เมื่อได้รับ Email แจ้งเตือน ผ่านระบบอัตโนมัติแล้วเท่านั้น
หัวหน้างาน สามารถเริ่มงาน Onboarding Module ได้เมื่อไหร่
หัวหน้าสามารถเริ่มใช้งาน Onboarding Module เมื่อได้รับ Email แจ้งเตือน หรือ สามารถเข้าใช้งานผ่านระบบ CneXt ได้เช่นกัน
พนักงานใหม่ สามารถใช้งาน Onboarding Module อะไรได้บ้าง
พนักงานใหม่ สามารถใช้งาน Onboarding Module โดยสามารถเข้าไปกรอกข้อมูลได้ ดังนี้
1.ข้อมูลส่วนตัว,
2.กรอกข้อมูลเรื่องสวัสดิการ
3.ศึกษาข้อมูลของบริษัทได้ก่อนวันเริ่มงาน เพื่อเป็นการเตรียมความ และ รู้จักบริษัทได้ดียิ่งขึ้น
หัวหน้างาน สามารถใช้งาน Onboarding Module อะไรได้บ้าง
หัวหน้างาน สามารถใช้งาน Onboarding Module โดยสามารถเข้าไปกรอกข้อมูลได้ ดังนี้
1. เขียนข้อความต้อนรับพนักงานใหม่
2.การนัดหมายประชุมล่วงหน้า
3. มอบหมายพี่เลี้ยง/คนสอนงาน ให้กับพนักงานใหม่
โมดูล EC-PY
ขอเช็คยอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสมัครไปแล้วกี่ปีได้เงินเท่าไหร่?
ไม่สามารถเช็คให้ได้ ถ้าจะให้เช็คต้องทำเรื่องถึงกรรมการ… เช็คเนื่องจากอะไร
พนักงานเข้างานหลังวันที่ 21 ทำไมไม่ได้รับเงินเดือน
ได้รับในเดือนถัดไปเป็นรายได้อื่น ๆ … ฝ่ายสรรหาแจ้งพนักงานตอนรับสมัคร
การจ่ายเงินคิดอย่างไร?
เงินเดือนคิดฐาน 30 วัน ตามฐานเวลาทำงานของแต่และฝ่าย สายขาดลาตามระเบียบบริษัทฯ
ลาออกวันที่ 23 สิงหา ทำไมเดือนกันยา ไม่ได้เงินคงเหลือ 2 วัน (พนักงานประจำ)
ไม่ได้รับ เงินเดือนจ่ายวันที่ 1-30 ของเดือน
จะดูสลิปเงินเดือนของตัวเองได้อย่างไร
ไปที่ My Employee File =>Payroll Information=> Payslips